คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTION
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1. สารสนเทศ (Information)
หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization)
การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3. การโต้ตอบ (Interaction)
คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback)
ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ (CAI)
1. ประเภทการสอน (Tutorial) เป็นแบบผู้ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่สอน โดยเสนอเนื้อหาให้ผู้เรียนได้ศึกษา ต่อจากนั้นจะมีการตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบ หากตอบไม่ได้ก็จะได้รับคำแนะนำเนื้อหานั้นใหม่ และให้ตอบคำถามใหม่จนกว่าจะเข้าใจ โปรแกรมจะเสนอบทเรียนใหม่และเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งคำตอบอาจตอบได้หลายวิธี เป็นประเภท CAI ที่นิยมใช้กันมากที่สุด
2. ประเภทฝึกหัดและปฏิบัติ (Drill and Practice) เป็นการให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัดหลังจากที่ได้เรียนเนื้อหานั้น ๆ แล้ว หรือมีการฝึกซ้ำ ๆ เพื่อให้เกิดทักษะหรือเป็นการแก้ปัญหาแบบท่องจำ เช่นการฝึกท่องจำคำศัพท์ ฝึกบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น
3. ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation) CAI แบบนี้ออกแบบเพื่อสอนเนื้อหาใหม่และทบทวนหรือเสริมในสิ่งที่ได้เรียนหรือทดลองไปแล้ว โดยใช้สถานการณ์จำลองเป็นการเลียนแบบหรือจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความจริง หรือตามธรรมชาติ
4. ประเภทเกม (Game) เป็นการเรียนรู้จากการเล่น อาจจะเป็นประเภทให้แข่งขันเพื่อไปสู่ชัยชนะ หรือเป็นประเภทเกมความร่วมมือ คือ เล่นเป็นทีมเพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม อาจใช้เกมในการสอนคำศัพท์ เกมการคิดคำนวณ หรือเกมจับผิด เป็นต้น
5. ประเภทการทดลอง (Tests) เพื่อทดสอบผู้เรียนโดยตรงหลังจากที่ได้เรียนเนื้อหาหรือฝึกปฏิบัติได้แล้ว โดยผู้เรียนจะทำแบบทดสอบผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อคอมพิวเตอร์รับคำตอบแล้วก็จะบันทึกผล ประมวลผลตรวจให้คะแนน และเสนอผลให้ผู้เรียนทราบทันทีที่ทำข้อสอบเสร็จ
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอนมาก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะสามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการสอน หรือจะใช้เป็นสื่อช่วยในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ผู้เรียนเรียนได้ตามความช้าเร็วของตนเอง ทำให้สามารถควบคุมอัตราเร่งของการเรียนได้
2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่รวดเร็ว
3. สามารถเอาเสียงดนตรี สีสัน กราฟิก และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ดูเหมือนของจริงและน่าเร้าใจ
ในการทำการฝึกปฏิบัติหรือสถานการณ์จำลองได้เป็นอย่างดี
4. ครูผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้ เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการเรียนของผู้เรียนแต่ละบุคคลไว้
5. ความใหม่แปลกของคอมพิวเตอร์จะเพิ่มความสนใจความตั้งใจของผู้เรียนมากขึ้น
6. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพ คือ ในแง่ที่ลดเวลา ทุ่นแรงผู้สอนและประสิทธิผลในแง่ที่
ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย
7. ด้านความรู้สึก ผู้เรียนมีความรู้สึกว่าตนเองกำลังเรียนหรือกำลังพูดคุยกับใครคนหนึ่งที่มีความรู้สึก มีอารมณ์ขันมีความชอบไม่ชอบใจ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้เรียนเกิดความอยากจะเรียนอยากทราบว่า เฟรมต่อไปจะเป็นอะไรถามว่าอย่างไรจะชมหรือติอย่างไร
8. บทเรียนคอมพิวเตอร์ดีกว่าสื่ออื่นในด้านความสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
9. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้รายบุคคลได้ดีสนองความแตกต่างระหว่าง
บุคคล เพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการของตนเอง
10. ความประหยัดในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการลงทุนเพียงครั้งเดียวสามารถใช้งานได้หลายครั้งเป็น
เวลายาวนาน และถูกมากในการทำสำเนาบทเรียน
11. สามารถเก็บบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนได้ง่าย
12. ให้โอกาสในการสร้างสรรค์และพัฒนาวัตกรรมสำหรับหลักสูตร และวัสดุการศึกษา
13. เพิ่มวิชาสอนตามความต้องการของนักเรียน
14. ช่วยให้มีเวลาสำหรับตรวจสอบและพัฒนาหลักสูตร ตามหลักสูตรวิชาการ
15. ช่วยเพิ่มวัตถุประสงค์ของการสอนได้เท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การฝึกฟังดนตรี ฯลฯ
16. เราความสนใจของผู้เรียน เพราะนำเสนอได้ทั้งภาพและเสียง ตลอดจน มีการเสริมแรงให้ผลย้อนกลับ
ในทันทีเมื่อผู้เรียนตอบคำถาม
17. ช่วยแบ่งเบาภาระของครูผู้สอน
ลักษณะที่สำคัญของ CAI
CAI (คอมพิวเตอร์ช่วยสอน)ที่สมบูรณ์ พิจารณาจาก 4 I's
1. Information (การนำเสนอเนื้อหาสาระ)
2. Individualization (การสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล)
3. Interaction (การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน)
4. Immediate feedback (การให้ข้อมูลป้อนกลับทันที)
3. Interaction (การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน)
4. Immediate feedback (การให้ข้อมูลป้อนกลับทันที)
การนำเสนอเนื้อหาสาระ
CAI มีการนำเนื้อหาสาระมาจัดกระทำและนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ตามหลักการที่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่ผู้ออกแบบใช้เป็นฐานในการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
การสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลCAI มีการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นมากพอที่จะให้ผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนรู้แตกต่างกันมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนเอง หรือเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนได้ โดยมีรายการ มีปุ่มควบคุมต่าง ๆ มีฮอตเวิร์ด (hotword) หรือข้อความหลายมิติ (hypertext) ให้ผู้เรียนมีอิสระในการสืบไปในบทเรียน ด้วยเวลาที่แตกต่างกัน มีอิสระในการเลือกเนื้อหา เลือกลำดับของการเรียน เลือกการฝึกปฏิบัติหรือเลือกการทดสอบที่สอดคล้องกับระดับความสามารถและความสนใจของผู้เรียนหรือมีการออกแบบให้ผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันต้องผ่านขั้นตอน ของกิจกรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน เป็นต้น
การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
CAI มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ประหนึ่งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนอย่างต่อเนื่องและอย่างมีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ ตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่ออกแบบให้เอื้อต่อการเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
CAI มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ประหนึ่งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนอย่างต่อเนื่องและอย่างมีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ ตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่ออกแบบให้เอื้อต่อการเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
การให้ผลป้อนกลับทันที
CAI มีการให้ผลป้อนกลับทันที ซึ่งเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่งและให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตนการให้ผลป้อนกลับมีได้หลายรูปแบบ เช่น การบอกว่า ถูก - ผิด การให้คำชม การขอให้ลองคิดดูใหม่ การให้คะแนนและการประเมินผลการทดสอบ ถ้าออกแบบกิจกรรมเป็นเกม ผลป้อนกลับอาจเป็นการแพ้ - ชนะ ถ้ากิจกรรมเป็นการแก้ปัญหา ผลป้อนกลับอาจเป็นสภาพที่ปัญหาถูกคลี่คลายเป็นเปลาะ ๆ ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจในความสามารถของตนและเป็นแรงจูงใจภายในให้มีความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาอื่น ๆ อีก ก่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างทางปัญญาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
แนวคิดการสร้างปัญญา
นักการศึกษาในกลุ่มสร้างสรรค์ นิยม (constructivism) ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการสร้างปัญญาไว้ดังนี้
1. สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา
2. ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายในให้เกิดกิจกรรมไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้งนั้น
3. การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์ และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์ ทางสังคม กระตุ้นให้มีการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญาที่สามารถขจัดความขัดแย้งนั้น
นักการศึกษาในกลุ่มสร้างสรรค์ นิยม (constructivism) ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการสร้างปัญญาไว้ดังนี้
1. สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา
2. ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายในให้เกิดกิจกรรมไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้งนั้น
3. การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์ และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์ ทางสังคม กระตุ้นให้มีการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญาที่สามารถขจัดความขัดแย้งนั้น
กิจกรรมไตร่ตรอง
กิจกรรมไตร่ตรองเป็นกิจกรรมของการตรวจสอบและขจัดความขัดแย้งทางปัญญา
- ระหว่างบุคคล
- ภายในตนเอง
- ระหว่างความเชื่อกับการประจักษ์
- ระหว่างบุคคล
- ภายในตนเอง
- ระหว่างความเชื่อกับการประจักษ์
โครงสร้างทางปัญญา
โครงสร้างทางปัญญาเป็นความรู้ที่อยู่ในระดับนัยทั่วไป ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเฉพาะ แบ่งได้เป็น 2 ด้านคือ มโนทัศน์ และกระบวนการ มีคำที่ใช้เรียกหลายคำ เช่น scheme, schema, structure, frame และ scriptบุคคลที่เรียนรู้ในระดับโครงสร้าง จะสามารถนำโครงสร้างเดิมไปใช้ในกรณีอื่น ๆ ได้มากมายและเป็นฐานในการสร้างโครงสร้างใหม่ด้วย
โครงสร้างทางปัญญาเป็นความรู้ที่อยู่ในระดับนัยทั่วไป ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเฉพาะ แบ่งได้เป็น 2 ด้านคือ มโนทัศน์ และกระบวนการ มีคำที่ใช้เรียกหลายคำ เช่น scheme, schema, structure, frame และ scriptบุคคลที่เรียนรู้ในระดับโครงสร้าง จะสามารถนำโครงสร้างเดิมไปใช้ในกรณีอื่น ๆ ได้มากมายและเป็นฐานในการสร้างโครงสร้างใหม่ด้วย
ความขัดแย้งทางปัญญา
หมายถึงสภาวะอสมดุลย์ (disequilibrium) อันเกิดจากการเผชิญกับความไม่สอดคล้องกันในความคิความเชื่อบางอย่างที่ยึดถืออยู่ ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล ความไม่สมเหตุสมผล สภาวะที่ตัดสินใจไม่ได้
หรือสภาวะที่โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ไม่สามารถแก้สถานการณ์ที่เผชิญอยู่ บุคคลที่อยู่ในสภาวะเช่นนี้จะเกิดแรงขับที่เป็นความอยากรู้อยากเห็น (curiousity) ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายในให้บุคคลค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสนองแรงขับ
หรือสภาวะที่โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ไม่สามารถแก้สถานการณ์ที่เผชิญอยู่ บุคคลที่อยู่ในสภาวะเช่นนี้จะเกิดแรงขับที่เป็นความอยากรู้อยากเห็น (curiousity) ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายในให้บุคคลค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสนองแรงขับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น